บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2016

Education

รูปภาพ
Full English-Thai names with abbreviations   Ministry of Education = กระทรวงศึกษาธิการ Website: http://www.en.moe.go.th/ Office of the Teacher Civil Service and Educational Personnel  Commission (OTEPC) = สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) Website: http://122.155.202.155/otepc2013/ Office of the Higher Education Commission = สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) Website: http://www.mua.go.th/ Office of the Civil Service Commission (OCSC) = สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน หรือ ก.พ. Website: http://www2.ocsc.go.th/ The Thailand Research Fund (TRF)  = สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) Website: http://www.trf.or.th/

MOU (Bangkok Airways and Kasetsart University)

รูปภาพ
เมื่อวันพุธที่ 13 กรกฎาคม 2559 ผมได้มีโอกาสเดินทางร่วมกับ ดร.อนามัย ดำเนตร (คณบดีคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ / รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) ไปที่วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร กทม เพื่อร่วมเจรจา (MOU) โครงการเปิดบ้านสอนน้องระหว่างบริษัทการบินกรุงเทพ กับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อให้นิสิตที่เรียนสาขาที่เกี่ยวข้องได้เรียนรู้จริง ปฏิบัติจริงร่วมกับบริษัทการบินโดยตรง หลังจากที่ผมคุยรายละเอียดเสร็จ ก็ได้พบกับนักวิชาการที่มีชื่อเสียงหลายท่าน โดยเฉพาะ ดร.อรสา ภาววิมล (ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการ อุดมศึกษา หรือ สกอ.)  ‪

มก รั้งอันดับ 1 มหาวิทยาลัยยอดนิยมของไทย (University Web Rankings & Reviews 2016)

รูปภาพ
มก รั้งอันดับ 1 มหาวิทยาลัยยอดนิยมที่มีการค้นหามากที่สุดตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา (University Web Rankings & Reviews 2016) แหล่งที่มา: http://www.4icu.org/th/

ชมพูพันธุ์ทิพย์ ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม

รูปภาพ
ช่วงฤดูกาลที่ชมพูพันธุ์ทิพย์ออกดอกบานสะพรั่ง ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นครปฐม  ‪ Pink trumpet trees at Kasetsart University, Nakhon Pathom ขอบคุณเจ้าของภาพทุกท่านครับ

Reporting & Reported Speech (Present & Past Simple)

รูปภาพ
    Photo: Google วันนี้มาทำความรู้จักกับ Reporting Speech กับ Reported Speech  Reporting speech นั้นบางตำราใช้คำว่า direct speech คือการบอกว่าบุคคลที่ 1 บอกอะไรกับเรา แล้วเราต้องการจะบอกคำพูดของบุคคลนั้นให้กับคนอื่นๆที่อยากรู้ หรือเราต้องการจะบอกว่าคนนั้นบอกอะไรกับเราให้กับคนอื่น โดยบอกคำพูดของบุคคลนั้นแบบที่เขาพูด โดยไม่เปลี่ยนคำพูดของบุคคลนั้น ส่วน Reported speech นั้นบางตำราใช้คำว่า Indirect speech คือการบอกว่าบุคคลนั้นบอกอะไรกับเรา แต่เราจะไม่เอาคำพูดของบุคคลนั้นมาบอกให้กับคนอื่นๆแบบตรงๆ แต่เป็นการบอกในลักษณะอ้อมๆ คือผันกริยา ตรงกันข้ามกับ Reporting or direct speech  ถ้างงก็ลองดูตัวอย่างด้านล่างนี้ครับ Direct speech:  "All workers  like watching TV," he said.  He said: "all workers like watching TV." He said, 'all workers like watching TV.'  'All workers like watching TV,' he said.  นี้เป็นรูปแบบการเขียน สามารถเขียนได้ 4 แบบพื้นฐานตามความถนัด มากไปกว่านั้น พวก he/she/it/ they said ยังสามารถวางตรงกลางประโยคได้อีกด้วย ...

โปรตุเกส กับ เลสเตอร์: บทเรียนจากฟุตบอล (Lessons Learned)

รูปภาพ
Pictures: Google บอลยูโร 2016 เพิ่งจบไป ทำเอาโต๊ะเซียนหักเป็นชิ้นๆ เมื่อเจ้าราชายูโรตกอยู่ในมือโปรตุเกส ลองหันหลังกลับไปดูก่อนเริ่มบอลยูโร หลายสำนักดังมองไปที่ทีมเต็งอย่าง ฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมัน สเปน และอังกฤษ อาจจะมีทีมสอดแทรกอย่างเบลเยียม โครเอเชีย และเวลส์ แต่สิ่งนี้เป็นมุมมองที่ดูเหมือนจะสมเหตุสมผลถ้าเราวิเคราะห์จากคุณภาพของทีม นักแตะ และองค์ประกอบอื่นๆภายในทีม  คล้ายๆกับบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษที่มีสโมสรใหญ่ๆอย่าง แมนยู เชลชี แมนซิตี้ และอาเซนอล อาจจะมีสโมสร (นอกสายตา) สอดแทรกเข้ามาอย่างสเปอร์ ลิเวอร์พูล และเอฟเวอร์ตัน แต่ทุกคนลืมเลสเตอร์สนิท สุดท้ายเลสเตอร์หักปากกาเซียน  ความเหมือนกัน (Sameness) - โปรตุเกสและเลสเตอร์เป็นทีมนอกสายตาของเหล่าเซียน เนื่องจากคุณภาพทีมและนักแตะ รวมทั้งองค์ประกอบอื่นๆของทีมต่ำกว่าทีมใหญ่ๆ แต่สุดท้ายทั้งคู่ก็ชนะรายการของตัวเอง แล้วก็ตบหน้าเซียนเหล่านั้นทางอ้อมไปด้วย - สามัคคี คือพลัง ("United we stand, divided we fall.") ใครดูฟุตบอลตั้งแต่เด็ก ลองสังเกตดูว่าทีมไหนก็ตามที่เล่นฉายเดี่ยว โชว์ความสามารถของตัวเองมากเกินไป จนเพื...

ว่าด้วยเรื่องภาษาอังกฤษต้องดัดจริตเข้าไว้ (จริงหรอ?)

รูปภาพ
เปลี่ยนความคิด ชีวิตเปลี่ยน!  ว่าด้วยเรื่องภาษาอังกฤษต้องดัดจริตเข้าไว้ (จริงหรอ?)  เด็กส่วนใหญ่คิดแบบนี้เลยไม่เก่งสักที เราต้องเข้าใจว่าเรากำลังเรียนภาษาอังกฤษ ไม่ใช่ภาษาไทย ฝรั่งที่พูดไทยได้เขาไม่ได้คิดว่าตัวเขาต้องพูดดัดจริตเหมือนกับเด็กไทยที่กำลังเรียนภาษาเขา  จะดีกว่าถ้าเราคิดว่า เราจะฝึกพูดอย่างไรให้เจ้าของภาษาเข้าใจได้ง่ายขึ้น  วิธีแก้ไข (1) ต้องเข้าใจจิตวิญญาณ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และกฎระเบียบภาษาของเขา (ต้องคิดว่า หัวใจของภาษาคือ การสื่อสาร ไม่ใช่การคิดว่าต้องดัดจริต)  (2) เหตุที่เด็กส่วนใหญ่คิดแบบนี้ เพราะเราเอาภาษาตัวเองตั้ง ทั้งๆที่เรากำลังเรียนภาษาที่ไม่ใช่ภาษาเรา พอเราเจอความแตกต่างจากภาษาเรา เราก็คิดลบ ทำให้การพัฒนาภาษาต่อไปนั้นยาก ถึงได้ก็แค่งูๆปลาๆ ต้องเปลี่ยนทัศนคติ (Mindset) ของตัวเองใหม่ อย่าติดกระดุมเม็ดแรกผิด โดย ทวีศักดิ์ จันทร์ประดิษฐ อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม