บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2020

ความเหมือนที่แตกต่างระหว่าง Acronym กับ Abbreviation

รูปภาพ
ทั้งสองคำนี้จริง ๆ แล้วมีความแตกต่างกันเล็กน้อย แม้ว่าบางตำราไวยากรณ์อาจจะบอกว่าสามารถเรียกแทนกันได้ก็ตาม แต่มุมมองผมอาจจะเห็นต่าง เพราะผมมองว่ามันแตกต่างกันอยู่ ดังนี้  Acronym หมายถึง การเอาตัวอักษรตัวแรกของคำมารวมกัน แล้วสามารถอ่านออกเสียงเป็น 1 คำได้ โดยที่ผู้อ่านเข้าใจ แม้ว่าจะไม่เห็นตัวเขียนเต็มก็ตาม เช่น คำว่า NASA เราสามารถออกเสียงคำนี้ได้เลย มีความรู้สึกว่ามันเป็นคำ 1 คำ แม้ว่ามันจะย่อมาจาก  N ational A eronautics and S pace A dministration ก็ตาม  Abbreviation หมายถึง ตัวย่อที่นำอักษรตัวแรกของคำเต็มนั้นมารวมกัน แต่ไม่สามารถอ่านออกเสียงเป็น 1 คำได้ เช่น  ATM ( A utomatic T eller M achine) เราออกเสียงเป็นหนึ่งคำเต็ม ๆ ไม่ได้ เราต้องออกเสียงแบบสะกดตามตัวว่า A-T-M  เช่นเดียวกับ  WHO ( W orld H ealth O rganization)เราออกเสียงเป็นหนึ่งคำเต็ม ๆ ไม่ได้ เราต้องออกเสียงแบบสะกดตามตัวเป็น W-H-O แต่ไม่สามารถออกเสียงเป็น  /huː/ (US) (ฮู) และอาจจะเพิ่มความสับสนไปอีก เพราะมันเหมือนกับ Who ที่ใช้ตั้งคำถาม และใช้ในพวก relative clause  สรุป acronym อ่านออก...

การเขียนอ้างอิงในเนื้อหาแบบ APA โดยสรุป

รูปภาพ
  การเขียน In-text citation แบบ APA (7th Edition) ในตัวอย่างต่อไปนี้เป็นการเขียน In-text citations แบบ APA เน้นการวางหน้าข้อความ โดยปกติแล้ว ผู้วิจัยสามารถวางหน้าหรือหลังข้อความก็ได้ แต่รูปแบบจะแตกต่างกัน ในตัวอย่างต่อไปนี้จะวางหน้าบทความทั้งหมดครับ  1. ผู้เขียนคนเดียว  = Benson (2018, p. 10) stated that + s + v  = Benson (2018, pp. 11-12) stated that + s + v  *กรณีเลขหน้า สามารถไม่ใส่ได้ในกรณีที่เราอ่านหนังสือหรือผลงานเขาทั้งเล่ม อ่านแล้วสรุปโดยรวมแบบไม่เจาะจงหน้า * p. = page หากอ้างอิงหน้า 10 แค่หน้าเดียวใช้ p. 10 / ถ้าสองหน้าหรือมากกว่า เช่น 10-12 ให้เขียน pp. 10-12  2. ผู้เขียนสองคน = Benson and William (2018, p. 10) stated that + s + v  = Benson and William  (2018, pp. 11-12) stated that + s + v *กรณีเลขหน้า สามารถไม่ใส่ได้ในกรณีที่เราอ่านหนังสือหรือผลงานเขาทั้งเล่ม อ่านแล้วสรุปโดยรวมแบบไม่เจาะจงหน้า 3. ผู้เขียน 3 คน หรือมากกว่า - ให้เขียนเฉพาะนามสกุลของคนแรกเท่านั้น ส่วนคนที่เหลือใช้คำว่า "และคณะ" = et al.   Benson et al. (2018, p. 10) ...

Enlarge Your Vocabulary with What I Call "Dictionary-based Method"

รูปภาพ
   ภาพขณะ อ.ทำหน้าที่ล่ามสดในการประชุมวันสำคัญสากลโลก ณ ศูนย์ประชุมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Convention Center (UNCC) Bangkok) ปี 2018 กทม. สวัสดีนิสิตทุกคนที่เข้ามาอ่านครับ วันนี้อาจารย์อยากจะแนะนำวิธีการเรียนคำศัพท์ด้วยการยึดวิธีการของพจนานุกรมเป็นหลัก (Dictionary-based Method) บวกกับความคิดของอาจารย์เข้าไป การเรียนอะไรก็ตาม ต้องมีวินัยในการฝึกฝนทุกวัน  ปกติเวลาเราเปิดพจนานุกรมออนไลน์ เช่น Cambridge Dictionary (https://dictionary.cambridge.org/dictionary/english/excite) หากเราพิมพ์คำศัพท์ลงไปสัก 1 คำ อย่างเช่น คำว่า excite พจนานุกรม จะบอกอะไรเราบ้างเกี่ยวกับคำนี้  สิ่งเหล่านี้คือ สิ่งที่พจนานุกรมบอกครับ 1. คำศัพท์  2. ความหมายของคำศัพท์หลัก ๆ ว่ามักจะใช้ในความหมายอะไรบ้าง  3. หน้าที่ของคำศัพท์ว่าสามารถทำหน้าที่อะไรบ้าง (Parts of Speech) 4. การอ่านออกเสียงคำศัพท์โดยมีตัว Phonetic transcription ให้เราด้วย  5. ประโยคตัวอย่างในการใช้คำศัพท์ในบริบทต่าง ๆ มากมาย 6. คำที่พ้องความหมาย (synonym) และคำที่ไม่พ้องความหมาย หรือคำที่มีความหมายตรงกันข้ามกัน (...