การเขียนอ้างอิงในเนื้อหาแบบ APA โดยสรุป
การเขียน In-text citation แบบ APA (7th Edition)
ในตัวอย่างต่อไปนี้เป็นการเขียน In-text citations แบบ APA เน้นการวางหน้าข้อความ โดยปกติแล้ว ผู้วิจัยสามารถวางหน้าหรือหลังข้อความก็ได้ แต่รูปแบบจะแตกต่างกัน ในตัวอย่างต่อไปนี้จะวางหน้าบทความทั้งหมดครับ
1. ผู้เขียนคนเดียว
= Benson (2018, p. 10) stated that + s + v
= Benson (2018, pp. 11-12) stated that + s + v
*กรณีเลขหน้า สามารถไม่ใส่ได้ในกรณีที่เราอ่านหนังสือหรือผลงานเขาทั้งเล่ม อ่านแล้วสรุปโดยรวมแบบไม่เจาะจงหน้า
* p. = page หากอ้างอิงหน้า 10 แค่หน้าเดียวใช้ p. 10 / ถ้าสองหน้าหรือมากกว่า เช่น 10-12 ให้เขียน pp. 10-12
2. ผู้เขียนสองคน
= Benson and William (2018, p. 10) stated that + s + v
= Benson and William (2018, pp. 11-12) stated that + s + v
*กรณีเลขหน้า สามารถไม่ใส่ได้ในกรณีที่เราอ่านหนังสือหรือผลงานเขาทั้งเล่ม อ่านแล้วสรุปโดยรวมแบบไม่เจาะจงหน้า
3. ผู้เขียน 3 คน หรือมากกว่า - ให้เขียนเฉพาะนามสกุลของคนแรกเท่านั้น ส่วนคนที่เหลือใช้คำว่า "และคณะ" = et al.
Benson et al. (2018, p. 10) stated that + s + v
= Benson et al. (2018, pp. 11-12) stated that + s + v
et al. ย่อมาจากภาษาละติน et alibi แปลว่า "และอื่น ๆ" / หรือ "และคณะ" ได้ในบริบทของการอ้างอิง
*** ในกรณีที่ 3 คน หรือมากกว่า โดยปกติเราจะเขียนตามรูปแบบข้างต้น แต่สามารถเขียนนามสกุลคนที่ 2 ได้ในกรณีที่คนเขียนคนแรกมีนามสกุลเหมือนกันกับคนเขียนคนแรกของอีกคณะทีมงานวิจัยหนึ่ง สามารถใส่นามสกุลคนเขียนลำดับที่สองได้ เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนของผู้อ่านวิจัย เช่น
คณะวิจัยทีมที่ 1 มี 3 คน เขียนเฉพาะนามสกุล คือ William, Benson, et al. (2019)...
คณะวิจัยทีมที่ 2 มี 3 คน เขียนเฉพาะนามสกุล คือ William, Johnson, et al. (2017)...
จะเห็นได้ว่า เราไม่สามารถเขียนนามสกุลเฉพาะคนเเรกได้ในกรณีที่นามสกุลคนแรกเหมือนกับนามสกุลคนแรกของอีกทีมวิจัยหนึ่งที่เป็นคนละคนกัน *** ถ้าหากนามสกุลคนที่ 1 และ 2 ของทั้งสองทีมวิจัยยังเหมือนกันอีก ก็ให้เพิ่มนามสกุลคนที่ 3 เข้ามา เพื่อทำให้เห็นความแตกต่างว่า เป็นคนละทีมงานวิจัยกัน เป็นคนละคนกัน เป็นต้น
4. ในกรณีที่ผู้เขียนต่างกัน แต่นามสกุลเหมือนกัน ให้เอาตัวอักษรแรกของชื่อต้น (first name or given name) มาวางหน้านามสกุล เช่น
Thaweesak Chanpradit กับ Nithaya Chanpradit
จะเห็นว่า 2 คนนี้เป็นผู้เขียนคนละคนกัน แต่นามสกุลเหมือนกัน เวลาเราเขียนอ้างอิงในเนื้อหาคือ ต้องใช้ตัวอักษรแรกของชื่อต้น เพื่อทำเลี่ยงความสับสน เช่น
T. Chanpradit (2001) เพื่อทำให้แตกต่างจาก N. Chanpradit (2009)
ชื่อบางคนอาจมีทั้งชื่อต้น ชื่อกลาง และชื่อท้าย (นามสกุล) เช่น
John Fitzgerald Kennedy กับ William Lord Kennedy
จะเห็นว่า 2 คนนี้เป็นผู้เขียนคนละคนกัน แต่นามสกุลเหมือนกัน
เราสามารถเขียนได้แบบนี้ คือ
J. F. Kennedy (2001).....เพื่อทำให้แตกต่างจาก W. L. Kennedy (2000)...... เป็นต้น
5. หากไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง ให้เขียนแบบนี้
= Anonymous (2018, p. 10) stated that + s + v
6. หากมีชื่อผู้แต่ง ไม่ปรากฏปี ให้เขียนแบบนี้
= William (n.d.) stated that + s + v
** n.d. = no date = ไม่ปรากฏปีพิมพ์
7. การอ้างอิงแบบทุติยภูมิ = เช่น เราไปอ่านงานของนาย William แต่ นาย William อ้างอิงงาน/บทความนั้นมาจากต้นฉบับของนาย Brown กลายเป็นว่าการอ้างอิงของ นาย William เป็นทุติยภูมิ หรือ เป็นข้อมูลมือสอง เพราะต้นฉบับงานจริง ๆ เป็นของนาย Brown
เราต้องเขียน in-text citation แบบนี้
= William (2018, cited in Brown, 2016) stated that + s + v
8. กรณีอ้างอิงมากกว่า 1 รายการ เพราะเรื่องนั้นอาจจะมีผู้เขียนเยอะ มีหลายชิ้นงานที่คล้าย ๆ กัน สามารถเขียนแบบนี้ได้ ให้ระบุรายการในวงเล็บ เรียงผู้เขียนตามอักษร A-Z แล้วใช้อัฒภาค ; ขั้น ดังตัวอย่างด้านล่าง
= ข้อความ..... (Billiam, 2018; Moyd, 2017 & Richards, 2015)
9. กรณีอ้างอิงเป็นลักษณะองค์กรหรือกลุ่มองค์กร ที่ไม่ได้ระบุชื่อผู้เขียนคนใดคนหนึ่ง กล่าวคือ เป็นลักษณะการเขียนในนามองค์กรโดยรวมแบบกลาง ๆ สามารถเขียนได้ดังนี้
Australian Institute of Health and Welfare [AIHW] (2019) stated that ....
*** [AIHW] เราจะเขียนตัวย่อแบบด้านบนนี้ในกรณีที่เราอ้างอิงครั้งแรกในบทความของเราและองค์กรที่เราใช้ตัวย่อต้องรู้จักโดยสากล แต่หากอ้างอิงเป็นครั้งที่ 2 ให้เขียนแบบนี้ (AIHW, 2019) เช่น Australian Institute of Health and Welfare (AIHW, 2019) stated that ....
*** ในกรณีที่องค์กรที่ไม่ได้มีคนรู้จักทั่วโลก เราควรเขียนเฉพาะชื่อตัวเต็มเท่านั้น ไม่ใช้ตัวย่อ เช่น
National Office of Buddhism (2017) stated that ....
10. กรณีอ้างอิงคำพูดหรือข้อความโดยตรงของต้นฉบับเฉพาะบางส่วนของข้อมูลทั้งหมด สามารถเขียนได้ดังนี้
Weston (1988) argued that "the darkest days were still ahead" (p. 45).
*** AmE จะนิยมใช้เครื่องหมาย Double quotation mark "..." ในขณะที่ BrE จะนิยมใช้ Single quotation mark '...'
11. กรณีอ้างอิงข้อมูลมาจากแหล่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
Willaim (2013, p. 20) stated that ....
หากไม่ปรากฏเลขหน้า ให้ใส่เลขลำดับพารากราฟแทน เช่น
Willaim (2013, para. 2) stated that ....
12. กรณีอ้างอิงจากเว็บไซต์แบบไม่เจาะจงว่าเป็นเอกสารอะไร แต่อ่านจากเว็บไซต์แบบรวม ๆ ไม่เจาะจงเอกสารใด ๆ
Apple is one of the most visited consumer technology websites in the world (https://www.apple.com).
*** นิยมใส่ชื่อเว็บไซต์ในวงเล็บหลังข้อความที่อ้างอิง และไม่จำเป็นต้องใส่ในส่วนเอกสารอ้างอิง แต่จะใส่ก็ไม่ได้ผิดอะไร
13. กรณีที่อ้างอิงเว็บเพจที่มีชื่อผู้เขียน สามารถเขียนตามรูปแบบดังนี้ คือ นามสกุลผู้เขียน และปี ค.ศ. ตัวอย่างเช่น
In a recent article on the 1918 flu pandemic, Tobias (2017) stated that ....
หรือ
Tobias (2017) stated that ....
***เว็บเพจที่เขียนในนามองค์กร / องค์กรเป็นผู้เขียนหรือเป็นเจ้าของผลงาน
Samsung (2019) stated that ...
***เว็บเพจที่ไม่ทราบชื่อผู้เขียน ให้เขียนชื่อเรื่องในวงเล็บและ ปี ค.ศ. ที่ตีพิมพ์/เผยแพร่ผลงาน (ปกติจะนิยมเขียนท้ายบนความ) เช่น
An Australian government agency recommend checking rainwater tanks in Queensland (“Unsealed rainwater tanks”, 2019).
***เว็บเพจที่ไม่ทราบปี ค.ศ.
Bose (n.d.) states that . . .
อ้างอิงในเนื้อหาในกรณีอื่น ๆ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
https://guides.lib.monash.edu/citing-referencing/intext_citations
https://columbiacollege-ca.libguides.com/apa/websites
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น