Enlarge Your Vocabulary with What I Call "Dictionary-based Method"

 

 ภาพขณะ อ.ทำหน้าที่ล่ามสดในการประชุมวันสำคัญสากลโลก ณ ศูนย์ประชุมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Convention Center (UNCC) Bangkok) ปี 2018 กทม.


สวัสดีนิสิตทุกคนที่เข้ามาอ่านครับ

วันนี้อาจารย์อยากจะแนะนำวิธีการเรียนคำศัพท์ด้วยการยึดวิธีการของพจนานุกรมเป็นหลัก (Dictionary-based Method) บวกกับความคิดของอาจารย์เข้าไป การเรียนอะไรก็ตาม ต้องมีวินัยในการฝึกฝนทุกวัน 

ปกติเวลาเราเปิดพจนานุกรมออนไลน์ เช่น Cambridge Dictionary (https://dictionary.cambridge.org/dictionary/english/excite) หากเราพิมพ์คำศัพท์ลงไปสัก 1 คำ อย่างเช่น คำว่า excite พจนานุกรม จะบอกอะไรเราบ้างเกี่ยวกับคำนี้ 

สิ่งเหล่านี้คือ สิ่งที่พจนานุกรมบอกครับ

1. คำศัพท์ 

2. ความหมายของคำศัพท์หลัก ๆ ว่ามักจะใช้ในความหมายอะไรบ้าง 

3. หน้าที่ของคำศัพท์ว่าสามารถทำหน้าที่อะไรบ้าง (Parts of Speech)

4. การอ่านออกเสียงคำศัพท์โดยมีตัว Phonetic transcription ให้เราด้วย 

5. ประโยคตัวอย่างในการใช้คำศัพท์ในบริบทต่าง ๆ มากมาย

6. คำที่พ้องความหมาย (synonym) และคำที่ไม่พ้องความหมาย หรือคำที่มีความหมายตรงกันข้ามกัน (antonym)

ปกติคำศัพท์ 1 คำในภาษาอังกฤษมีความหมายมากมาย หากมันไปเชื่อมกับคำอื่น ๆ เช่น พวก compound verbs, compound adjectives เป็นต้น 

ภาพจาก https://dictionary.cambridge.org/dictionary/english/excite

จากข้างต้น โดยพื้นฐานแล้ว เราต้องรู้ 6 อย่างตามแนวของพจนานุกรม การที่พจนานุกรมจะได้แนวทางแบบนี้ ต้องผ่านการวิจัยมาไม่รู้เท่าไหร่ จนได้แนวทางที่สรุปชัดเจนดัง 6 ข้อที่ อ.ระบุ หมายความหมายว่า สิ่งที่พจนานุกรมเสนอข้อมูลให้เรา เป็นสิ่งที่ดีที่สุดแล้ว ดังนั้นอาจารย์จึงคิดว่าการเรียนรู้คำศัพท์จากพจนานุกรมที่เชื่อถือได้ เป็นสิ่งที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งครับ 

ทีนี้ อ. จะนำ 6 ข้อข้างต้นมาขยาย โดยยกคำว่า Excite มาเป็นตัวอย่างครับ

1. คำศัพท์ คือ Excite 

2. ความหมายคือ ทำให้ตื่นเต้น / ทำให้ใครบางคน/อะไรบางอย่างตื่นเต้น / ปลุกเร้าอารมณ์ความรู้สึกว่าอยากทำอะไรบางอย่าง/หรืออยากรู้อะไรบางอย่าง / กระตุ้นหรือปลุกปั่นให้เกิดความรู้สึกที่ลบ ทั้งนี้ความหมายมีหลายหลาก ขึ้นอยู่กับบริบท แต่แน่นอนว่า เราต้องรู้ความหมายหลัก ๆ ของมันก่อน ว่ามันมักจะใช้ในความหมายอะไรบ่อยสุด 

3. หน้าที่ของมัน คือ transitive verb คือ กริยาที่ต้องมีกรรมตามเสมอ เช่น Kaset Fair excites visitors from all walks of life. สังเกตว่าหลังคำว่า excites ในประโยคต้องมีกรรมตามหลัง คือ visitors ซึ่งเป็นคำนามแปลว่าผู้ที่มาเที่ยวมาเยี่ยมเยือน แต่มันเป็นกรรม เพราะใช้หลังกริยา excites จึงเป็นคำนามที่ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค แต่ถ้า อ.เขียนลอย ๆ แบบนี้ Kaset Fair excites. จะผิดทันที เพราะมันไม่มีกรรมตาม เหมือนกับเราพูดว่า งานเกษตรแฟร์กระตุ้น แล้วจบเลย คำถามคือ กระตุ้นอะไร? ดังนั้น เราต้องพูดว่า งานเกษตรแฟร์กระตุ้นผู้คนให้มาเที่ยวงานได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่งคำว่า excites ในบริบทนี้สื่อความหมายที่ว่า กระตุ้นหรือทำให้คนอยากมาจับจ่ายซื้อของเพราะ มก. มีกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย พร้อมกับมีผู้คนมาเที่ยวจับจ่ายซื้อของ หรือร่วมลงทุนทำอะไรบางอย่าง ส่วนมากจะเน้นในบริบทธุรกิจการค้าขาย ลงทุน หรืออื่นๆ

4. การอ่านออกเสียงคำศัพท์ คือ  /ɪkˈsaɪt/ เป็นคำอ่านตามหลักสัทอักษร เราอาจจะเรียกว่า phonetic transcription ก็ได้ ตามหลักแล้ว เวลาเราอ่านคำศัพท์ เราไม่ได้อ่านจากคำที่เขียน แต่เราต้องอ่านจากคำอ่านที่ถูกต้อง คล้ายๆกับภาษาไทย เช่น คำว่า สามารถ หากเราอ่านตามคำเขียนตามตัว เราจะอ่านว่า สา-มา-รด ได้ ซึ่งมันผิด เพราะตามคำอ่านที่ถูกต้องคือ สา-มาด แบบนี้ เช่นเดียวกับภาษาอังกฤษ เช่น คำว่า vegetable คนไทยมักอ่านผิดว่า ve-get-ta-ble ซึ่งผิด เพราะตามคำอ่านที่ถูกต้องตามหลักภาษาอังกฤษอ่านแค่ 3 พยางค์เท่านั้น คือ  /ˈvedʒ.tə.bəl/ (UK) และ /ˈvedʒ.tə.bəl/ (US) ออกเสียงประมาณ  เว็จเทอะเบิล เป็นต้น

5. ประโยคตัวอย่างในการใช้คำศัพท์ excite ในบริบท หลัก ๆ มีดังนี้ 

5.1 to make someboy feel extremely happy, interested in something, eager to do something = ทำให้ใครบางคนรู้สึกมีความสุขมากๆ หรือทำให้ใครบางคนรู้สึกสนใจอะไรบางอย่างมากๆ หรือ ทำให้รู้สึกใครบางคนอยากที่จะทำอะไรบางอย่างมากๆ

เช่น This movie really excites me. เท่ากับ This movie makes me feel happy. หนังเรื่องนี้ทำให้ผมมีความสุขมากๆ สรุปคือ หนังสนุกเขาชอบหนังเรื่องนี้ 

5.2 to cause a particular feeling or reaction (formal) in someone / something เช่น The presiential election results have excited the interest of people around the world. แปลว่า ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐทำให้คนทั่วโลกสนใจอย่างมาก เพราะประเด็นนี้อยู่ในความสนใจของคน คนอยากรู้อยากเห็นว่าผลจะเป็นอย่างไรในที่สุด ดังนั้น excite ในบริบทนี้จะใช้ในเฉพาะประเด็นหรือเรื่องอะไรบางอย่างที่เป็นเหตุทำให้คนสนใจ กระตุ้นความสนใจของคน หรือทำให้คนอยากรู้อยากเห็นว่าจะเกิดอะไรขึ้นในที่สุด เป็นประเด็นที่อยู่ในความสนใจของคน เป็นต้น


อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ The book really excites very little comment. excites ในที่นี้คือ ทำให้เกิดความรู้สึก/กระตุ้นให้ผู้อ่านต้องคอมเม้นท์อะไรเล็กน้อย หรือทำให้คนอ่านต้องมีปฏิกิริยาตอบกลับอะไรบางอย่าง ประมาณว่าอ่านแล้วมันคันไม้คันมืออยากจะพูดอะไรบางอย่าง/คอมเม้นท์อะไรบางอย่าง เป็นต้น

5.3  to make someone feel sexual desire = กระตุ้นหรือทำให้เรารู้สึกอยากมีความต้องการทางเพศ หรืออยากคบเป็นคู่ชีวิตด้วย เช่น Because she is very beautiful, she excites me a lot. เป็นต้น

6. คำที่พ้องความหมาย (synonym) ของคำว่า excite ได้แก่ arouse, incite, inspire, provoke, stimulate bewitch, captivate, charm, delight, enchant, enthrall (or enthral), hypnotize, mesmerize, rivet, spellbind interest, intrigue, tantalize, arouse, encourage, fire (up), impassion, incite, instigate, move, pique, provoke, rev (up), spark, stimulate, stir ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบทในการใช้ด้วย

คำที่ไม่พ้องความหมาย หรือคำที่มีความหมายตรงกันข้ามกัน (antonym) เช่น bore, jade, pall, tire, weary

deject, demoralize, discourage, dishearten, dispirit, calm, soothe, subdue, tranquilize (also tranquillize)

appease, mollify, pacify, placate เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบทในการใช้ด้วย


ข้อต่อไปนี้ คือ สิ่งที่ อ.อยากจะแถมเข้าไป คือ 

7. เราต้องรู้ตระกูลคำ หรือ Word family เช่น ตระกูลของคำว่า excite คือ 

excited เป็นคุณศัพท์ประเภท -ed adjective แปลว่า รู้สึกตื่นเต้น เช่น I'm excited to see you today.

excitedly เป็นกริยาวิเศษณ์ แปลว่า อย่างตื่นเต้น เช่น He talks to his boss excitedly

excitement เป็นคำนาม แปลว่า ความตื่นเต้น He cannot hide his excitement of becoming a parent. 

exciting เป็นคำคุณศัพท์ประเภท -ing adjective แปลว่า ซึ่งน่าตื่นเต้น เช่น This movie is very exciting


8. เราควรรู้เรื่อง collocation คือ คำหรือกลุ่มคำที่มักใช้ไปด้วยกันหรือใช้คู่กัน เช่นคำว่า excite มักจะใช้คู่กับคำนาม คือ interest/curiosity/sympathy กลายเป็น excite + interest/curiosity/sympathy อันนี้เราเรียกว่าเป็น collocation ระหว่าง verb + noun เช่น The presidential election has excited a lot of public interest. เป็นต้น 

9. เราควรรู้หลักการสร้างคำของภาษาอังกฤษ (word formation) โดยเฉพาะพวก prefix/root/suffix เพราะคำศัพท์ส่วนใหญ่สร้างคำโดยการเติมหน้า-เติมหลังไปท้ายคำเยอะมาก เช่น คำว่า excite / excit-ing / excit-ed / excit-ed-ly / excite-ment เป็นต้น คำที่เห็นได้ชัดทั้งเติมหน้า-เติมหลังมีหลายคำ เช่น happy / un-happy / happi-ness / un-happi-ness เป็นต้น 

ทั้งนี้การสร้างคำในภาษาอังกฤษมีหลายประเภท หลัก ๆ คือ 

1. affixation

2. folk etymology

3. compounding 

4. abbreviation

5. acronyms

6. borrowing

7. lending

8. clipping

9. back-formation

ลองไปศึกษาเพิ่มเติมดูครับ


10. เราควรใช้พจนานุกรมที่เป็นอังกฤษ-อังกฤษ เป็นหลัก เพราะเราจะได้คำศัพท์เพิ่มจากคำศัพท์ที่เราค้นหา เราสามารถได้เรียนรู้คำศัพท์ผ่านการแปลคำนั้นอีกทอดหนึ่ง เช่น คำว่า beauty ถ้าเราเปิดพจนานุกรมแบบอังกฤษ-ไทย เราก็รู้แค่ว่า ความสวยงาม / นางงาม เป็นภาษาไทย แต่ถ้าเราใช้แบบอังกฤษ-อังกฤษ เราจะได้คำศัพท์เพิ่ม เช่น Beauty คือ APPEARANCE [uncountable] a quality that people, places, or things have that makes them very attractive to look at เห็นไหมว่าเราจะได้เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ ๆ จากการแปลความหมายเยอะเลย เช่น appearance / quality / people / places / things เป็นต้น 


สุดท้าย อ.ฝากทั้งหมด 10 ข้อ นิสิตสามารถนำไปใช้กับคำศัพท์อื่น ๆ ได้ทุกคำครับ ยึดหลัก 10 ข้อข้างต้นที่อาจารย์กล่าวมา แล้วเราจะเก่งขึ้นแน่นอน

พจนานุกรมออนไลน์แนะนำ

https://dictionary.cambridge.org/

https://www.ldoceonline.com/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความแตกต่างระหว่าง maid และ housekeeper แบบย่อ

จับจุดอ่อนของ Informality (ความไม่เป็นทางการในการใช้ภาษาพื้นฐาน)

10 คำคม