Grammar analysis





ตัวอย่างประโยคที่ 1. I went swimming after I had finished my class.

I went swimming after I had finished my class.
* การใช้ go + gerund (V-ing) - สังเกตว่าในประโยคนี้ใช้คำกริยา go + V-ing ได้โดยที่ไม่ต้องมี to เข้ามา เพราะ  go + V-ing นั้นเป็นการบ่งบอกถึงกิจกรรมทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของอวัยวะทางร่างกาย เช่นว่ายน้ำ (go swimming) เล่นสกี (go skilling) เต้น (go dancing) ช้อปปิ้ง (go (window) shopping) เป็นต้น ดัง V-ing ในประโยคด้านบนคือ swimming ถือเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่ง จึงเป็นสามารถพูดหรือเขียนได้ว่า I went swiming... (เป็นรูปอดีตธรรมดา) ได้ โดยไม่ต้องใส่ to หลัง go (went/gone) ดังนั้นเราจะพูดหรือเขียนว่า I want to go to swimming there.  แบบนี้ไม่ได้ ต้องเปลี่ยนเป็น I want to go to swim there. แบบนี้เเทน 

I went swimming after I had finished my class.
*การใช้ after - after เป็นได้ทั้งบุพบท (preposition) และตัวเชื่อม (conjunction) ซึ่งในประโยคตัวอย่างด้านบนนี้ใช้ after เป็นตัวบุพบท ที่แปลง่ายๆว่า หลังจาก สังเกตว่าสิ่งที่อยู่หลัง ...after... นั้นสามารถเป็นรูปประโยคที่สมบูรณ์ (I will talk to you after I have lunch.) หรือเป็นนามวลีก็ได้ (I will go there after lunch) หรือ V-ing + NP (noun phrase) (I will go there after having lunch.) ก็ได้เช่นกัน เหตุที่ประโยคด้านบนใช้ประโยคสมบูรณ์ในรูปของ Past perfect tense หลัง after คือ ...after I had finished my class. ก็เพราะว่า คนพูดหรือคนเขียนต้องการจะเน้นว่าเขาได้ทำอะไรก่อนที่จะไปว่ายน้ำ เป็นการเน้นให้ผู้ฟังหรือผู้อ่านเห็นชัดเกี่ยวกับสองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตว่า อันไหนเกิดก่อน อันไหนเกิดหลัง ดังนั้นในภาษาอังกฤษจึงมีรูปแบบตายตัวคือ went swimming after I had finished my class. ก่อน after ใช้ past simple tense หลัง after ใช้ past perfect tense เสมอ เช่น I ate breakfast after I had taken a bath. หรือ I had taken a bath before I ate breakfast. โครงสร้างนี้เราใช้เพื่อต้องการเน้นว่า เหตุการณ์ไหนเกิดขึ้นก่อนกันเพื่อความชัดเจน เนื่องจากสองเหตุการณ์นี้เป็นเหตุการณ์ที่สิ้นสุดในอดีตเหมือนกัน ดังนั้นเราจึงใช้เหตุการณ์อดีตที่ 1 เป็นรูป past perfect ในขณะที่เหตุการณ์อดีตที่ 2 เป็น Past simple โดยมี after หรือ before เป็นตัวเพิ่มความชัดเจนอัตโนมัติในตัวของมันอีกด้วย ดังตัวอย่างที่อธิบายด้านบนก่อนหน้านี้ 

*************************************

2. Thai manufacturers need to develop products that meet the safety standard certificates of the US Food.
* การใช้ need to... - เป็นรูปปกติที่เราเห็นทั่วไปมีความหมายคล้ายกับ want to... desire to... crave to .. wish to... โครงสร้างคือ Sb needs to do Sth. กับอีกโครงสร้างหนึ่งคือ Sb needs Sth. สังเกตประโยคตัวอย่างใช้ Thai manufacturers need to develop products that meet the safety standard certificates of the US Food. ประโยคนี้ยังเพิ่มข้อมูลหรือความชัดเจนเข้ามาด้วยการใช้ That-clause เข้ามา หรืออาจจะเรียกกว้างๆว่า Relative clause ก็ได้ แต่เพื่อให้ชัดเจนมากขึ้นเราจึงเรียกว่า that-clause คืออนุประโยคที่ใช้ that เป็นตัวขึ้นต้นก่อนจะตามด้วยอนุประโยค ทำหน้าที่คล้ายกับคุณศัพท์ (adj.) เพราะช่วยขยายคำนามให้ชัดเจนมากขึ้น ดังประโยคตัวอย่างคือ Thai manufacturers need to develop products that meet the safety standard certificates of the US Food and Drug Administration (FDA). ความหมายประมาณว่า ผู้ผลิตสินค้าชาวไทยต้องการพัฒนาสินค้าต่างๆที่เป็นไปตามหรือสอดคล้องกับมาตรฐานการรับรองขององค์กรอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา 

เราจะเห็นว่า ไม่ใช่ต้องการผลิตสินค้าต่างๆออกมาเฉยๆ แต่ต้องการผลิตสินค้าที่เป็นไปตามมาตรฐานการรับรองขององค์กรอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาด้วย จึงต้องใช้ that-cluase เข้ามาขยาย products ให้ชัดเจนขึ้นนั่นเอง 

หลายคนอาจจะตั้งคำถามว่าทำไมมันจึงเรียกว่า Relative clause หรือทำไมมันจึงจัดเป็น Relative clause ได้ - คำตอบ ก็เพราะว่า that-clause นั้นมีความสัมพันธ์กับคำนาม (products) เพราะช่วยเพิ่มข้อมูลหรือช่วยขยายคำนามให้ชัดเจนมากขึ้นโดยไม่มีเครื่องหมายพวก comma / semicolon / colon / dash เข้ามาขวางกั้น 
ดังตัวอย่างประโยค คือ 
Thai manufacturers need to develop products that meet the safety standard certificates of the US Food and Drug Administration (FDA).

*************************************

3. The actor, who visited Laos two years ago, admitted he knows Mr. Xaysana but had no idea about his alleged illegal business.

การใช้ who-clause - ในประโยคตัวอย่างด้านบนใช้ comma หลังประธานของประโยค (The actor...) ก่อนที่จะใช้ who-clause ในรูปแบบนี้ who-clause อยู่ในเครื่องหมาย comma เพราะผู้เขียนไม่ต้องการเน้น หรือไม่ต้องการเจาะจง อาจจะเป็นเพราะได้กล่าวมาก่อนหน้านี้แล้ว สังเกตจากการใช้ตัว Determiner "The" actor... ทำให้คนอ่านเข้าใจข้อมูลเบื้องต้นของนักแสดงคนนี้ก่อนแล้ว จึงใช้ who-clause ตามหลังนามที่สื่อถึงบุคคลในประโยคนี้เป็นแบบ Non-identifying clause คืออนุประโยคย่อยที่ใช้เป็นส่วนขยายที่ระบุเสริมหรือไม่จำเป็นต้องระบุในประโยคก็ได้ (ต้องเขียนอยู่ใน comma เสมอ ดังประโยคตัวอย่างด้านบน) แต่ใส่มาเพื่อทวนความจำให้ผู้อ่านอีกครั้งหนึ่งว่า นักแสดงผู้ที่ไปเที่ยวลาวเมื่อ 2 ปี ที่แล้ว ยอมรับว่า รู้จักกับนาย Xaysana แต่ไม่เคยรู้เรื่องเกี่ยวกับธุรกิจที่ผิดกฎหมายของนาย Xaysana มาก่อนเลย

The actor, who visited Laos two years ago, admitted he knows Mr. Xaysana but had no idea about his alleged illegal business.

การใช้ Reported (indirect) speech - ประโยคแบบ reported speech จะประกอบไปด้วยสองอนุประโยคสำคัญ คือ Reporting clause (ส่วนที่ใช้สีเน้น) กับ Reported clause (ส่วนที่ขีดเส้นใต้) 

The actorwho visited Laos two years ago, admitted ... (เป็น Reporting clause) คืออนุประโยคใช้เกริ่นนำให้ผู้อ่านได้ทราบก่อนว่า ใคร? ยอมรับว่าอะไร? ซึ่งเราสามารถแทรก who-clause เข้ามาได้ แต่ต้องอยู่หลังประธานของประโยคหรือคำนามที่สื่อถึงบุคคล ขั้นด้วยเครื่องหมาย comma เว้นห่างโดยกด spacebar หนึ่งครั้ง หรือเว้นวรรคพอประมาณ แล้วพิมพ์ หรือเขียน who-clause ลงไปก่อนปิดท้ายด้วย comma โดยไม่ต้องเว้นห่าง

...he knows Mr. Xaysana but had no idea about his alleged illegal business. ในส่วนนี้เป็น Reported clause คืออนุประโยคที่สื่อให้รู้ว่านักแสดงคนนี้ยอมรับว่า...(อะไร)... โดยปกติแล้วเรามักจะเห็น that เสมอในรูปประโยค Reported clause แต่ that จะใส่ หรือใส่ก็ได้ ถือว่าไม่ผิด อย่างไรก็ตาม เราก็ถือว่าเป็น that-clause ด้วยเหมือนกันเเม้ว่าบางประโยคจะไม่ใส่ that เข้าไปก็ตาม ดังประโยคตัวอย่างนี้

The actor, who visited Laos two years agoadmitted (that) he knows Mr. Xaysana but had no idea about his alleged illegal business. 



*************************************

4. She didn't pass the exam because she didn't study for it at all.

การใช้ because - ในประโยคนี้ไม่มีอะไรซับซ้อน เป็นการใช้ because เพื่อบอกเหตุผลทั่วไปว่า เพราะอะไร ดังประโยคตัวอย่างที่เราเห็น หล่อนสอบไม่ผ่านเพราะว่าหล่อนไม่ได้ศึกษาเล่าเรียนอย่างเต็มที่  จุดสังเกตอีกจุดหนึ่งก็คือ หลัง because จะต้องเป็นประโยคที่สมบูรณ์เสมอ ซึ่งจะต่างกับพวก because of.... / due to... 


*************************************
5. Prime Minister Prayut Chan-o-cha gazes at a cut-out poster of himself put up for children to take photos at Government House.

การใช้ title (ยศ หรือตำแหน่งหน้าที่การงาน) - คำที่บ่งบอกถึงตำแหน่งในประโยคตัวอย่างด้านบนก็คือ คำว่า Prime Minister เขียนตัวเเรกเป็นพิมพ์ใหญ่ และจะไม่มีพวก Article นำหน้า ในกรณีที่เราใส่ชื่อบุคคลตามหลัง ดังประโยคตัวอย่างที่เขียนว่า Prime Minister Prayut Chan-o-cha (ชื่อบุคคล)......... ในภาษาพาดหัวข่าวมักนิยมใช้ตัวย่อเป็น PM เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเขียน เช่น PM visits Japan เป็นต้น

Prime Minister Prayut Chan-o-cha gazes at a cut-out poster of himself put up for children to take photos at Government House.

การใช้ participle clause - ในประโยคนี้ ใช้คำว่า put up ต่อท้ายนามวลี ( at a cut-out poster of himself) ซึ่ง put เป็นช่อง 3 หรือที่เราเรียกว่า past participle มีความหมายเป็นแบบ passive meaning ในที่นี้แปลความหมายคร่าวๆว่า ป้ายโพสเตอร์ของนายกที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้เด็กๆได้ถ่ายรูปที่ทำเนียบรัฐบาล

Prime Minister Prayut Chan-o-cha gazes at a cut-out poster of himself put up for children to take photos at Government House.

แปลโดยรวมคือ ท่านนายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันโอชา ได้จ้องมองไปที่โปสเตอร์ของท่านเองที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้เด็กๆได้ถ่ายรูปที่ทำเนียบรัฐบาล


*************************************
6. Both the driver and the passenger were injured in the accident.

การใช้ passive voice - นอกเหนือจากการใช้ both...and.... แล้ว ยังมีจุดชวนถกอยู่อีกหนึ่งจุด นั่นก็คือ การใช้รูป passive voice ซึ่งในประโยคตัวอย่างด้านบนใช้ในรูปอดีตจึงเป็น S + were + v.3 (followed by a prepositional phrase) ในรูป passive voice เรามักจะเห็น by เข้ามา เช่น I was fined of 500 THB by police at Ratchadamri intersection. แต่บางประโยคก็ไม่ใส่ by เข้ามาเนื่องจากบริบทมันชัดเจนอยู่แล้ว ทำให้ by จึงถูกตัดออกไป (Omission)

Both the driver and the passenger were injured in the accident.  สังเกตว่าตำแหน่งสุดท้ายของประโยค passive voice ต้องใช้เป็นลักษณะ Prepositional phrase เท่านั้น ในกรณีที่เราต้องการเพิ่มความชัดเจนเสริมเข้าไป เพื่อให้คนอ่านได้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น ส่วนใครสังสัยเรื่อง Prepositional phrases ให้เข้าไปอ่านตามลิ้งค์ด้านล่างนี้ครับ 
http://www.chompchomp.com/terms/prepositionalphrase.htm 

*************************************
7. He wanted to see the doctor who had helped my mother.
การใช้ Who-clause - การใช้ who-clause ในประโยคนี้คล้ายกับประโยคตัวอย่างของข้อที่ 3 แต่มีความแตกต่างกันนิดเดียว คือ ประโยคนี้ไม่ได้ใช้เครื่องหมาย comma มาขั้น หลังคำว่า the doctor หมายความว่า who-clause ในที่นี้เป็นลักษณะเจาะจง ต้องระบุข้อมูลเข้าไป ถ้าไม่ระบุจะทำให้ไม่สมบูรณ์ เป็นแบบ Identifying clause ทำให้ประโยคนี้ชัดเจนและสมบูรณ์ที่สุด  

He wanted to see the doctor who had helped my mother.
แปลคร่าวๆว่า เขาอยากจะพบนายแพทย์คนที่ช่วยชีวิตแม่เขาไว้ 

*************************************
8. The survivor was rushed to a local hospital where he later recovered and was able to provide police with a statement.

การใช้ Where-clause - เหตุที่ไม่ใช้ who-clause เพราะคำว่า a local hospital เป็นสถานที่ จึงต้องใช้ Where-clause โดยไม่ต้องใส่เครื่องหมาย comma เข้าไป เพราะเป็นลักษณะ Identifying clause 

The survivor was rushed to a local hospital where he later recovered and was able to provide police with a statement.
การใช้ ...and... โดยไม่ต้องอ้างประธานซ้ำ - ในกรณีที่เราใช้ประธาน (he) กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ต่อเนื่องกัน หรือเกี่ยวข้องกับประธาน (he) คนเดียวกัน เราสามารถที่จะใช้ and โดยที่ไม่อ้างประธานซ้ำได้ เพื่อไม่เกิดความซ้ำซากและน่าเบื่อ  ดังนั้นเราจึงไม่เขียนประธานซ้ำแบบนี้... where he later recovered and he was able to provide police with a statement.



*************************************
9. When I handed in my paper, I forgot to submit the reference page.

การใช้ Main clause และ Subordinate clause - ปกติเราจะเห็นอนุประโยคหลัก (Main clause) ก่อนที่จะตามด้วยอนุประโยครอง (Subordinate clause) แต่ในประโยคตัวอย่างด้านบนนี้เป็นการเริ่มด้วยอนุประโยครองก่อนคือ When I handed in my paper, I forgot to submit the reference page. แล้วตามด้วยอนุประโยคหลัก When I handed in my paper, I forgot to submit the reference page.  

จุดสังเกตคือ ถ้าเราเอาอนุประโยคมาก่อนต้องใช้เครื่องหมาย comma ขั้น ก่อนจะตามด้วยอนุประโยคหลัก ดังประโยคตัวอย่างด้านบน

เราจะไม่ใช้ comma เมื่อเราอนุประโยคหลักมาก่อน แล้วตามด้วยอนุประโยครอง แบบนี้ 
I forgot to submit the reference page when I handed in my paper. 

ที่เรียกว่า อนุประโยคหลัก ก็เพราะว่า อนุประโยคหลักนั้นสามารถเข้าใจเกิน 60 เปอร์เซ็นต์แล้ว สมมุติว่าเราตัดอนุประโยครองออก I forgot to submit the reference page when I handed in my paper.  แบบนี้คนอ่านก็ยังเข้าใจมากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ 

แต่ถ้าสมมุติเราตัดอนุประโยคหลักออกไปแบบนี้  I forgot to submit the reference page when I handed in my paper. แน่นอนว่าคนอ่านจะเข้าใจไม่ถึง 40 เปอร์เซ็นต์แน่นอน

นี้คือเหตุผลว่าทำไมต้องเรียกว่า อนุประโยคหลัก และอนุประโยครอง แต่อย่างไรก็ตามทั้งสองอนุประโยคนั้นสำคัญพอๆกัน เพราะมันต้องอยู่ร่วมกันจึงจะเป็นประโยคที่สมบูรณ์ที่สุด



*************************************
10. Because I was hungry, I ate a lot of pancakes.

การสลับตำแหน่งของ Because + reason clause - ประโยคนี้ดันทะลึ่งเขียนเริ่มต้นด้วยการบอกเหตุผลก่อนเลย แม้ว่ารูปปกติทั่วไปจะเป็น I ate a lot of pancakes because I was hungry. แบบนี้ก็ตาม คล้ายกับข้อที่ 9 ที่เอาอนุประโยคหลักอยู่หลัง อนุประโยครอง(บอกเหตุผล) ซึ่งไม่ได้ผิดอะไร สามารถสลับตำแหน่งกันได้ แต่จำไว้ว่า...ลืมว่าจะเขียนอะไร แปบ.. ต่อครับ แต่จำไว้ว่า ถ้าเราใช้อนุประโยคหลักก่อน เราไม่ต้องใส่ comma เป็นแบบนี้ 

I ate a lot of pancakes because I was hungry.




*************************************

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความแตกต่างระหว่าง maid และ housekeeper แบบย่อ

จับจุดอ่อนของ Informality (ความไม่เป็นทางการในการใช้ภาษาพื้นฐาน)

10 คำคม