Wrap-up (Units 12-14)





Unit 12

To-infinitive of purpose ในหนังสือเน้น 2 แบบ คือ

1. (In order) to + v.1, s + v + o

Ex. In order to keep yourself fit, you should excercise every day.
       To keep yourself fit, you should excercise every day.

สามารถเขียนสลับกันได้ เช่น
You should excercise every day in order to keep yourself fit.
You should excercise every day to keep yourself fit.

คุณควรออกกำลังกายเพื่อที่จะทำให้ร่างกายคุณแข็งแรง

เพื่อที่จะ = เป็นการสื่อถึงวัตถุประสงค์ (purpose) ดังนั้นวลีที่ อ. เน้นสีเหลืองนั้นคือ วลีที่บอกจุดประสงค์นั่นเอง ภาษาอังกฤษเรียกว่า To-infinitive of purpose 

Infinitive = v.1 (base form)



2. For + n + to + v.1, s + v + o

Ex. For a store to get more customers, it has to be aware of the quality of products.

แบบที่ 2 นี้มีความหมายไม่ต่างกันกับแบบที่ 1 ด้านบน เพียงแค่โครงสร้างในการใช้ต่างกัน
ดังประโยคด้านบน คือ For a store to get more customers, it has to be aware of the quality of products.

จริงๆแล้วมันมีหลายแบบในการเขียนสื่อถึงจุดประสงค์ ลองอ่านเพิ่มเติมจากลิ้งค์นี้
http://pserm-e-grammar.blogspot.com/2008/04/to-infinitive.html


Unit 13

Past modals (modal verbs) คือ กริยาช่วยที่ใช้ในรูปอดีต ในหนังสือมี 3 รูปแบบ ดังนี้

1. S + must have + v.3

โครงสร้างนี้ใช้กริยาช่วย คือ must บ่งบอกถึงความแน่นอนในอดีต เช่น

The garden is wet; it must have rained last night. 
ตอนนี้สวนเปียกชื้น ฝนจะต้องตกแน่ๆเมื่อคืนนี้ 

ที่ใช้ must เพราะมันมีหลักฐานหรือข้อมูลบ่งบอกว่า สวนดูเปียกๆ หลังนั้นผู้พูดจึงค่อยข้างมั่นใจว่า เมื่อคืนนี้ฝนต้องตกแน่ๆ แม้ว่าผู้พูดจะไม่รู้จริงๆว่าฝนตกเมื่อคืนนี้จริงหรือเปล่า แต่เป็นการคาดเดาจากข้อมูลและหลักฐานที่มีอยู่ คือ สวนดูเปียกๆ  

เหมือนกับเราเห็น เพื่อนคนหนึ่งไว้ผมยาวมาโดยตลอด อยู่มาอีกวัน เราเห็นเพื่อนคนดังกล่าวไว้ผมสั้นลง เราก็เดาได้ว่า เพื่อนเราจะต้องตัดผมแน่ๆ ซึ่งเราสามารถพูดได้ว่า She must have cut her hair. การใช้โครงสร้างนี้เป็นการพูดถึงอดีตว่า เธอจะต้องตัดผมมาแล้วแน่ๆ ทำให้ผมปัจจุบันของเธอสั้นลง 

2. s + could have + v.3 

โครงสร้างเหมือนกับแบบที่ 1 ต่างแค่ใช้กริยาช่วย คือ could 
could หลักๆมันสื่อความหมายถึง Ability / possiblity / making a guess ในอดีต เช่น

2.1 You could have passed the exam. (could = ability)
= เธอน่าจะสอบผ่านไปเรียบร้อยแล้วนะ แต่ในความเป็นจริงคือสอบตก ดังนั้นการใช้ could ในข้อนี้สื่อความหมายถึง ability เพราะคนพูดเชื่อว่าเรามีความสามารถที่จะทำข้อสอบผ่านไปได้ในตอนนั้น แต่เมื่อเราสอบเสร็จแล้ว ผลออกมาคือ เราสอบไม่ผ่าน (I failed the exam.) เพื่อนเราก็เลยพูดว่า You could have passed the exam.  แต่ความจริงคือ  I failed the exam. 

2.2 She could have arrived home early. (could = possibility = อาจจะเป็นไปได้/ความเป็นไปได้ในอดีต)

อธิบาย: สมมุติน้องสาวเราทำงานที่ปิ่นเกล้า บังเอิญว่าเมื่อวานจราจรที่ปิ่นเกล้าไม่ติดขัดเลย (The traffic was not jammed yesterday.) ดังนั้น อาจจะเป็นไปได้ที่น้องสาวเราจะกลับถึงบ้านเร็วกว่าวันก่อนๆ เราจึงพูดว่า She could have arrived home early. แต่ในความจริงคือ น้องสาวถึงบ้านสาย (She arrived home late.) แม้ว่าจราจรไม่ติดขัดก็ตาม

การใช้ could ในข้อ 2.2 นี้มีความหมายสื่อถึงความเป็นไปได้ แต่ไม่มั่นใจเหมือนกับ must 

2.3. She could have gone out. (could = making a guess)

อธิบาย: สมมุติ เราไปหาเพื่อนหญิงที่บ้าน เรากดกระดิ่งหน้าบ้านเพื่อนหลายครั้งแล้ว แต่เพื่อนไม่ออกมาเปิดสักที ราวกับว่าเพื่อนไม่อยู่บ้าน  เราเลยพูดกับเพื่อนที่ไปด้วยว่า She could have gone out. แปลว่า เธอน่าจะออกไปข้างนอกแล้วมั้ง ตรงนี้สื่อความหมายว่า Making a guess คือ การคาดเดา จริงไม่จริงไม่รู้ แต่เป็นการเดาว่า  เธอน่าจะออกไปข้างนอกแล้วมั้ง ซึ่งเราสามารถใช้ could ได้เช่นกัน ดังตัวอย่าง 2.3 ด้านบน 

ระดับความแน่นอน/ความมั่นใจ (Degrees of certainty)
must มั่นใจมากที่สุด
could จะมีความมั่นใจน้อยกว่า may/might 
might จะมีความมั่นใจน้อยกว่า may 

3. s + may/might have + v.3

เช่น ประโยคที่เป็นจริงในอดีตบอกว่า He did not call me. = เขาไม่ได้โทรหาผมในตอนนั้น (ความจริงในอดีต) จึงคาดคะแนที่ค่อยข้างจะไม่มั่นใจว่าจะเกิดขึ้นในอดีตหรือไม่ ด้วยการพูดว่า He may (might) have forgotten my phone number. แปลว่า เขาน่าจะลืมเบอร์โทรศัพท์ของฉันไปเรียบร้อยแล้ว (ผลที่เกิดขึ้นก็คือ ทำให้เขาไม่ได้โทรมาหาผมในตอนนั้น)

ในแบบที่ 3 สามารถใช้ may หรือ might ก็ได้ ต่างกันแค่ระดับความมั่นใจ หากใช้ may ก็จะมั่นใจมากกว่า might นั้นเอง ตามโครงสร้างข้อที่ 3 ด้านบน (s + may/might have + v.3)

บทที่ 14 
บทนี้จะพูดเกี่ยวกับ Passive voice โดยมีรูปแบบ 2 แบบ คือ 
1. To be + v.3
2. have (has) to be + v.3 / might be + v.3 

1. To be + v.3 = เป็น passive voice คือ ประธานถูกกระทำ 
ในหนังสือจะเน้น Present simple passive จะเน้นพูดถึงข้อเท็จจริงโดยทั่วไปที่อยู่ในรูปปัจจุบันที่มีความหมาย Passive (ประธานถูกกระทำ)
Present คือ รูปปัจจุบันของ Verb to be ก็คือ is กับ are 
ส่วน passive คือ กริยาช่องที่ 3 หรือ v.3 (ประธานถูกกระทำ)
สรุปโครงสร้างคือ s + is/are + v.3 

จะใช้ is หรือ are นั้นขึ้นอยู่กับประธานของประโยค ถ้าประธานเป็นรูปเอกพจน์ก็ใช้ is และพหูพจน์ใช้ are 

เช่น 

- Harry Potter is written by J.K. Rowling. 
ภาพยนต์ Harry Potter ถูกเขียนโดย J.K. Rowling = เน้นความจริง - แม้ว่าภาพยนต์จะเขียนบทเสร็จเรียบร้อยแล้ว คนดูได้ชื่นชมไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อพูดถึงความจริง ไม่ว่าจะผ่านไปแล้ว มันก็ยังเป็นจริงอยู่ในปัจจุบัน คือ  ภาพยนต์ Harry Potter ถูกเขียนโดย J.K. Rowling

- These chairs are made of wood. แปลว่า เก้าอี้เหล่านี้ถูกผลิตมากจากไม้ 


2. s + have (has) to be + v.3 / might be + v.3 

have to คือ กริยาช่วย (ประเภท semi-modal)
might คือ กริยาช่วย (Modal หรือ Modal verb หรือ Helping verb)
be = กริยาช่องที่ 1 (base form) เป็นรากศัพท์ มักใช้วางหลัง to (to be) และ หลังกริยาช่วย (might be)
v. 3 คือ กริยาช่องที่ 3 (past participle)


โครงสร้างคือ

 s + have (has) to be + v.3 / might be + v.3 

เช่น
has to / have to = obligation แปลว่า ความจำเป็น/ข้อบังคับ เป็นเชิงบังคับว่า จะต้องทำอะไรบางอย่าง แต่จะมีน้ำหนักน้อยกว่า must 
She has to be trained before work. เธอจะต้องถูกฝึกก่อนจะเริ่มทำงาน
They have to be trained before work. พวกเขาจะต้องถูกฝึกก่อนจะเริ่มทำงาน

might = possibilty (อาจจะ)

She might be trained before work. เธออาจจะต้องถูกฝึกก่อนที่จะเริ่มงาน 
(...หมายถึงเธอเองก็มีพื้นฐานการทำงานแล้วในระดับหนึ่ง แต่อาจจะมีอะไรเล็กๆน้อยๆที่เธอยังทำไม่ค่อยได้ ดังนั้น เธออาจจะต้องถูกฝึกสิ่งนั้นก่อน แล้วค่อยเริ่มทำงานจริงๆ)

They might be trained before work. พวกเขาอาจจะต้องถูกฝึกก่อนที่จะเริ่มงาน 
(...หมายถึงพวกเขาก็มีพื้นฐานการทำงานแล้วในระดับหนึ่ง แต่อาจจะมีอะไรเล็กๆน้อยๆที่พวกเขายังทำไม่ค่อยได้ ดังนั้น พวกเขาอาจจะต้องถูกฝึกสิ่งนั้นก่อน แล้วค่อยเริ่มทำงานจริงๆ)


















ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความแตกต่างระหว่าง maid และ housekeeper แบบย่อ

จับจุดอ่อนของ Informality (ความไม่เป็นทางการในการใช้ภาษาพื้นฐาน)

10 คำคม