กระบวนการสร้างคำในพระนามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
กระบวนการสร้างคำในพระนามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
โดยพระมหาสันติราษฎร์ ฌานสนฺติ (ป.ธ. 9 / พธ.ม. (ภาษาศาสตร์) / กำลังเรียน ป.เอก) วัดจักรวรรดิราชาวาส วรมหาวิหาร กทม
ที่มา: https://www.facebook.com/profile.php?id=100003798513737&fref=nf&pnref=story |
คำว่า "มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรากูร" เป็นคำยืมบาลี-สันสกฤต
มหาวชิราลงฺกรณราชา [บาลี] มีทั้งหมด 8 หน่วยคำ *หน่วยที่เล็กที่สุดที่มีความหมายในภาษา สร้างโดยวิธีการสมาสคำ สนธิคำ ลงปัจจัย และลงวิภัตติ
[มหา+วชิร+อลํ+กร+ยุ[อณ]+อิว+ราช+สิ]
ระหว่าง มหา + วชิร = มหาวชิร (2 morphemes/หน่วยคำ) เป็นวิธีการสมาสคำ [บาลี] วิเคราะห์ว่า มหนฺตํ วชิรํ มหาวชิรํ มหนฺตมูลํ วา วชิรํ มหาวชิรํ. [บทขยายอยู่หน้า ประธานอยู่หลัง เรียก วิเสสนบุพพบท กัมมธารย]. เพชรอันใหญ่ หรือมีมูลค่าสูง ชื่อว่า มหาวชิระ.
ระหว่าง อลํ + กร + ยุ = อลงฺกรณ (3 morphemes/หน่วยคำ) เป็นวิธีการสนธิ และลงปัจจัย (suffix) [บาลี] มาจาก อลํ + กร = อลงฺกร [อาเทสหรือแปลงนิคคหิตเป็น งฺ], อลงฺกร + ยุ = อลงฺกรณ [ยุ ปัจจัยลงหลัง กฺร ธาตุ แปลงเป็น อฺณ]. อลงฺกรณ เป็นนามกิตก์ กรณสาธนะ วิเคราะห์ว่า อลงฺกโรติ เตนาติ อลงฺกรณํ (วตฺถุ) แปลว่า ชื่อว่า อลงกรณ์ เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า เป็นเครื่อง [ยุ]/กระทำ [กฺร]/ให้พอ [อลํ] หมายความว่า เครื่องประดับ.
ระหว่าง มหาวชิร + อลงฺกรณ = มหาวชิราลงฺกรณ (5 morphemes/หน่วยคำ) เป็นวิธีการสมาสคำ [บาลี] วิเคราะห์ว่า มหาวชิรเมว อลงฺกรณํ มหาวชิราลงฺกรณํ. [อวธารณบุพพบท กัมมธารย]. เครื่องประดับคือเพชรอันมีมูลค่าสูงนั่นเอง ชื่อว่า มหาวชิราลงกรณ.
ระหว่าง มหาวชิราลงฺกรณ+[อิว]+ราชา[ลง สิ วิภัตติ] = มหาวชิราลงฺกรณราชา (8 morphemes/หน่วยคำ) เป็นวิธีการสมาสคำ [บาลี] วิเคราะห์ว่า มหาวชิราลงฺกรโณ อิว ราชา มหาวชิราลงฺกรณราชา. [อุปมาบุพพบท กัมมธารย]. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว [ราชา] ผู้ทรงเป็นราวกะว่าเครื่องประดับคือเพชรอันมีมูลค่าสูงส่ง ชื่อว่า มหาวชิราลงกรณ์.
*
*
คำว่า "บดินทรเทพยวรางกูร"
บาลี. ปตินฺทเทววรงฺกุโร, ปตินฺททิพฺพวรงฺกุโร. สํ. ปตินฺทฺรทิวฺยวรงฺกุร
มีทั้งหมด 6 หน่วยคำ สร้างโดยวิธีการสมาสคำ
[ปติ+อินฺท+ทิพฺพ+วร+องฺกุร+สิ]
ระหว่าง ปติ+อินฺท = ปตินฺท [2 morphemes/หน่วยคำ], เป็นวิธีการสมาสคำบาลี วิเคราะห์ว่า ปติ จ อินฺโท จ ปตินฺโท. [บทขยายทั้งสองบท เรียก วิเสสโนภยบท กัมมธารย]. เป็นใหญ่ด้วย เป็นจอมด้วย ชื่อว่า บดินท. ปตินฺทฺร [เขียนแบบสันสกฤต] เป็น บดินทร.
ความหมายอื่นๆ : ปติ เป็นใหญ่, เป็นเจ้า, ผัว, ผู้รักษา.
อินฺท พระอินทร์, ผู้ถึงซึ่งความเป็นใหญ่, เป็นจอม. สํ. อินฺทฺร.
ระหว่าง ปตินฺท + ทิพฺพ = ปตินฺททิพฺพ [3 morphemes/หน่วยคำ], เป็นวิธีการสมาสคำบาลี วิเคราะห์ว่า ปตินฺโท ทิพฺโพ ปตินฺททิพฺโพ. [บทขยายอยู่หน้า เรียก วิเสสนบุพพบท กัมมธารย]. เทพเจ้า ผู้เป็นใหญ่ และเป็นจอม ชื่อว่า บดินททิพพ. ปตินฺทฺรทิวฺย [เขียนแบบสันสกฤต] เป็น บดินทรเทพย [เอา อิ ที่ ทิ เป็น เอ,เอา ว ที่ ทิว เป็น พ].
ระหว่าง ปตินฺททิพฺพ+วร = ปตินฺททิพฺพวร [4 morphemes/หน่วยคำ], เป็นวิธีการสมาสคำบาลี วิเคราะห์ว่า ปตินฺททิพฺโพ วโร ปตินฺททิพฺพวโร. [บทขยายอยู่หลัง เรียก วิเสสนุตตรบท กัมมธารย]. เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่และเป็นจอมผู้ประเสริฐ ชื่อว่า บดินททิพพวร.
ระหว่าง ปตินฺททิพฺพวร + องฺกุโร [ลง สิ] = ปตินฺททิพฺพวรงฺกุโร [ุ6 หน่วยคำ], เป็นวิธีการสมาสคำบาลี วิเคราะห์ว่า ปตินฺททิพฺพวรสฺส องฺกุโร ปตินฺททิพฺพวรงฺกุโร.[ฉัฏฐีตัปปุริสสมาส]. หน่อเนื้อแห่งเทพเจ้าผู้เป็นใหญ่และเป็นจอมผู้ประเสริฐ ชื่อว่า บดินททิพพวรังกุร. แบบ สันสกฤต. บดินทรทิวยวรังกุร. แบบไทย. บดินทรเทพยวรางกูร [เอา อิ ที่ ทิ เป็น เอ, ว ที่ ทิว เป็น พ, เสียง อะ ที่ อัง เป็น อา = อาง, เสียง อุ ที่ กุ เป็น อู = กูร].
แปลตามศัพท์ว่า
"สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็นราวกะว่าเครื่องประดับคือเพชรอันมีมูลค่าสูงส่ง ผู้ทรงเป็นหน่อเนื้อแห่งเทพเจ้าผู้เป็นใหญ่และเป็นจอม (แห่งมนุษย์) ผู้ประเสริฐ"
แปลเอาความเพื่อความสละสลวยทางภาษาขึ้นอยู่ที่ดุลยพินิจของแต่ละบุคคล.
ขอถวายพระพร.
พระมหาสันติราษฎร์ ฌานสนฺติ
วัดจักรวรรดิราชาวาส วรมหาวิหาร
วัดจักรวรรดิราชาวาส วรมหาวิหาร
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น