Resume Format

บริเวณทางเข้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม (ภาพจาก https://www.facebook.com/photo.KPS)

การเขียนประวัติโดยสังเขป (Detailed Resume)

ชี้แจงเบื้องต้น

ตัวผู้เขียนเองนั้นได้ผ่านการสอบบรรจุได้ในตำแหน่งพนักงานอาจารย์สอนภาษาอังกฤษประจำคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (นครปฐม) ซึ่งเปิดรับแค่ 1 อัตรา ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงมีความประสงค์ที่จะแบ่งปันรูปแบบและวิธีการเขียนเรซูเม่ (Resume) ซึ่งเป็นรูปแบบการเขียนสมัครงานในสายวิชาการอาจารย์มหาวิทยาลัย เหมาะสมกับผู้ที่กำลังต้องการสมัครเป็นอาจารย์มหาลัยอย่างยิ่ง ส่วนในสายอื่นๆก็อาจจะดูเป็นแบบได้เพราะจริงๆรูปแบบมันก็เป็นสากลอยู่แล้วครับ เพียงแค่ปรับเปลี่ยนข้อมูลตามสายงานที่ท่านสมัครเท่านั้น หวังว่าคงเป็นประโยชน์แก่ทุกท่านครับที่กำลังอ่านบทความนี้อยู่ไม่มากก็น้อย อยากจะรบกวนให้แชร์ลิ้งค์นี้ต่อๆไปด้วยครับ เผื่อจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นที่กำลังมองหาวิธีการเขียนเรซูเม่นี้อยู่ครับ
ขอบคุณครับ
ทวีศักดิ์ จันทร์ประดิษฐ
B.A. in English, M.A. in English (International Program)

ผมแบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1
– ความสำคัญของการเขียนเรซูเม่และหัวข้อที่ต้องระบุ
ส่วนที่ 2
– ตัวอย่างการฝึกเขียนร่างเรซูเม่และการปรับปรุงแก้ไข
ส่วนที่ 3
– ตัวอย่างการเขียนเรซูเม่แบบสมบูรณ์ (ปรับปรุงแก้ไขแล้ว)

ส่วน 1
ความสำคัญของการเขียนเรซูเม่และหัวข้อที่ต้องระบุ
   การเขียนเรซูเม่นั้นเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้สมัครงานในทุกๆสายอาชีพเพื่อช่วยทำให้องค์กรที่เราสมัครนั้นได้รู้จักตัวเรามากขึ้น และยังช่วยดึงดูดความสนใจได้หากเรามีการวางแผนในการเขียนที่ดี การใช้คำที่สั้น คม ชัด ตรงประเด็น และเห็นภาพ (เหมือนกับ Trailer ภาพยนตร์ที่สามารถฉุดกระชากความสนใจผู้ชมได้ และทำให้ผู้ชมนั้นอยากดูหนังในที่สุด การทำให้ผู้ชมต้องควักเงินออกจากกระเป๋าเพื่อซื้อตั๋วดูหนังได้นั้นเป็นความสำเร็จอย่างหนึ่ง) และที่สำคัญคือ เรซูเม่ช่วยเติมเต็มในส่วนที่ใบสมัครไม่ได้ถามได้
หัวข้อหลักๆในการเขียนเรซูเม่มี 11 หัวข้อดังนี้

1.   การเกริ่นนำ (Introduction) หลังจากที่เขียนชื่อ-นามสกุล เบอร์โทร อีเมลตรงกลางหน้ากระดาษแล้ว เราก็เริ่มนับหนึ่งในส่วนนี้ (การเกริ่นนำ) เป็นการบอกหลักๆว่า คุณคือใคร เป็นอะไร มีความเชี่ยวชาญทางด้านไหน บุคลิกภาพส่วนตัวเป็นอย่างไร เป็นต้น

2.   ประวัติส่วนตัว (Personal Background) ส่วนนี้เราก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่าหลักๆนั้นเราต้องเขียนอะไรลงไป โดยทั่วไปจะประกอบไปด้วย
 ชื่อ-นามสกุล....... ที่อยู่..... หมู่.... ตำบล..... อำเภอ.....จังหวัด...... รหัส......... วัน/เดือน/ปีเกิด........อายุ......สัญชาติ......ศาสนา......น้ำหนัก......ส่วนสูง.........สถานภาพ.......เบอร์โทร.......อีเมล.......

3.   ประวัติการศึกษา (Educational Background) ส่วนนี้ก็เขียนประวัติการศึกษาของเราเริ่มตั้งแต่การเขียน เดือน ปี พ.ศ. ที่เราเข้าเรียน และเดือน ปี พ.ศ. ที่จบการศึกษาโดยให้เขียนเรียงจากอดีตจนถึงปัจจุบัน / ชื่อมหาลัยตัวเต็มและตัวย่อ/ ชื่อหลักสูตร/สาขาเอก/เกียรตินิยม/และเกรดเฉลี่ย ตัวอย่างเช่น
พ.ค. 2556 – เม.ย. 2558        มหาวิทยาลัย............................ (ใส่ตัวย่อมหาลัย) – รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) (เกียรตินิยมอันดับ......ถ้ามี) เกรดเฉลี่ย...........
พ.ค. 2551 – มี.ค. 2555  มหาวิทยาลัย............................ (ใส่ตัวย่อมหาลัย) – รัฐศาสตรบัณฑิต (รัฐศาสตร์) (เกียรตินิยมอันดับ......ถ้ามี) เกรดเฉลี่ย...........

4.   วิทยานิพนธ์/งานวิจัย/งานเขียน (Theses/ Research Works / Academic Papers)ส่วนนี้เป็นส่วนที่ดึงดูดความสนใจมากที่สุด เพราะจริงๆแล้วเขาไม่อยากรู้ส่วนที่ 1-2-3 ของเรามากหรอกครับ เขาอยากรู้ว่าเราทำอะไรเป็นบ้าง เคยมีประวัติ หรือประสบการณ์ในการทำวิทยานิพนธ์ งานวิจัย งานเขียนเชิงวิชาการต่างๆบ้างไหม ดังนั้นมันจึงสำคัญมากๆในส่วนนี้

5.   รางวัลและทุนที่ได้รับ (Awards and Scholarships)ส่วนนี้เป็นส่วนที่ช่วยเพิ่มความเสน่ห์ของเรา เพราะการที่เราได้รับรางวัลหรือทุนนั้นมันก็บอกในตัวของมันเองอยู่แล้วว่าเราเป็นคนดี ขยัน พากเพียรพยายาม และเก่ง ดังนั้นมันจึงเป็นเสน่ห์ของเรา

6.   ประวัติการดูงานและการฝึกอบรม (Field Study Trips and Academic Training)มีสำนวนฝรั่งที่บอกว่า “Practice makes perfect.” ฝึกฝนทำให้เก่ง เพราะการเรียนในห้องเรียนอย่างเดียวนั้นไม่พอ ต้องปฏิบัติด้วย แล้วผลก็จะตามมา สอดคล้องกับหลักธรรมพุทธศาสนา 3 อย่าง คือ ปริยัติ / ปฏิบัติ / ปฏิเวธ ดังนั้นส่วนนี้จึงสำคัญ

7.   ประวัติการทำงาน (Working Experience)– ส่วนนี้ก็สำคัญมากเช่นกัน เพราะการทำงานสอนเราได้ดีที่สุด บางอย่างไม่สามารถเรียนรู้ในห้องเรียนได้ถ้าไม่มีประสบการณ์ หรือประวัติในการทำงาน ดังคำพูดที่ว่า คนทำงานจะเก่ง เพราะงานจะสอนคนอัตโนมัติ

8.   ผลงานวิชาการด้านการสอน และการทำวิจัย (Works Related to English Language Teaching and Research) ส่วนนี้มีความสำคัญเท่าๆกับส่วนที่ 4 และ 7 เพราะส่วนนี้เป็นงานหลักของอาจารย์อยู่แล้วที่มีหน้าที่ผลิตปรับปรุงสื่อการสอน ผลงานวิชาการและการทำวิจัย โดยเฉพาะวิจัยที่เปรียบเสมือนหัวใจของมหาลัยชั้นนำ มันจึงสำคัญมากๆในส่วนนี้

9.   กิจกรรมทางวิชาการ (Academic Activities) ส่วนนี้ควรจะต้องเขียนลงไปในเรซูเม่ด้วยเพราะกิจกรรมนั้นเป็นเชิงปฏิบัติ ไม่ใช่นั่งรับข้อมูลอย่างเดียว (Spoon-Fed Learning) การที่เราเคยเข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการนั้นเป็นการบ่งบอกถึงความมีวินัย ใฝ่รู้ และความกระตือรือร้นของเราด้วย

10.         กิจกรรมอื่นๆ (Other Activities) ระบุได้ทั้งหมดนอกเหนือจากกิจกรรมทางวิชาการ

11.         บุคคลรับรอง/อ้างอิง (References) ในส่วนนี้ก็สำคัญมากๆเช่นกัน เพราะมันช่วยเพิ่มความมั่นใจในสิ่งที่เราเขียนทั้งหมดตั้งแต่ข้อที่ 1-10 ควรมีผู้รับรอง/อ้างอิงอย่างน้อย 3 คน
คนที่ 1 รับรองประสบการณ์การทำวิจัย/ผลงานวิชาการ/บทความเชิงวิชาการ
คนที่ 2 รับรองประวัติการทำงานของเรา
คนที่ 3 รับรองประวัติการศึกษาของเรา

*ส่วนรูปแบบการเขียนตั้งแต่ข้อ 1-11 ให้ดูในส่วนที่ 3 นะครับ จะได้เห็นภาพและเข้าใจง่ายขึ้นครับ

**************************จบส่วนที่ 1***************************






ส่วนที่ 2
ตัวอย่างการฝึกเขียนร่างเรซูเม่และการปรับปรุงแก้ไข

       ส่วนที่ 2 นี้เป็นการนำเสนอตัวอย่างที่ผมฝึกเขียนเรซูเม่โดยมีท่านอาจารย์ ดร.มนตรา เลี่ยวเส็ง ผู้เชี่ยวชาญ (อดีตอาจารย์สอนวิชาระเบียบวิธีการวิจัยในช่วงที่ผมเรียนปริญญาโท นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) กรุงเทพมหานคร) คอยให้คำชี้แนะเกี่ยวกับเทคนิค ทักษะการตอบคำถามสัมภาษณ์ และความละเอียดของการเขียนเรซูเม่
              ทุกความสำเร็จเริ่มต้นที่การเตรียมพร้อมที่ดีเสมอ ดังคำที่พูดฝรั่งที่ว่า “Success begins with great preparation.” แน่นอนว่าการฝึกเขียนเรซูเม่นั้นสำคัญมากๆ เพราะมันไม่ใช่เพียงแค่เป็นการแนะนำประวัติของเราอย่างเดียว มันยังสะท้อนให้เห็นถึงทักษะการเขียนของเรา ความละเอียดในการเขียน การใช้คำ (สั้น คม ชัด ลึก และเห็นภาพ) ด้วยเช่นกัน ดังนั้นการฝึกเขียนจึงสำคัญ และที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ ต้องมีผู้คอยชี้แนะให้เราด้วย เพราะผู้ที่ชี้แนะนั้นสามารถช่วยเราได้ดีกว่าการที่เราอ่านหนังสือแล้วมาเขียน เนื่องจากประสบการณ์ของตัวผู้ชี้แนะ และอื่นๆที่ช่วยทำให้เราเข้าใจ พัฒนาการเขียนได้ดีขึ้นกว่าเดิม

   ภาพถ่ายต่อไปนี้เป็นตัวอย่างที่ผมฝึกเขียนและแก้ไขปรับปรุงผ่านคำแนะนำของท่านอาจารย์ ดร.มนตรา เลี่ยวเส็ง  











ส่วนที่ 3
ตัวอย่างการเขียนเรซูเม่แบบสมบูรณ์ (ปรับปรุงแก้ไขแล้ว)



เอกสารประวัติโดยย่อ

ทวีศักดิ์ จันทร์ประดิษฐ
โทรศัพท์ 088-6898408 อีเมล boylovepopin@hotmail.com
อาจารย์ภาษาอังกฤษสอนระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษาทางด้านการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในยุคสาระสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ การแปลและการเขียนเอกสารทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ บทความวิจัยและสื่อใหม่ (Facebook & Blogger) เพื่อเป็นเครื่องมือสร้างการเรียนรู้ศตวรรษ 21 ตามหลักของห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom)และการบรรยายการประยุกต์ใช้ธรรมะภาษาอังกฤษในห้องเรียนเพื่อช่วยในการออกแบบการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนไม่มีทักษะภาษาอังกฤษโดยใช้บทสนทนาและกิจกรรมเป็นฐาน มีประสบการณ์ในการร่วมทำวิจัยระดับนานาชาติ และได้รับรางวัลผลงานวิจัยระดับดีเด่นจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สามารถทำงานภายใต้แรงกดดันและสถานการณ์ปัญหาต่างๆได้ดี มีการจัดเวลาที่ดี รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการพัฒนานวัตกรรมและโครงการใหม่ๆ
ประวัติส่วนตัว:
ชื่อ นายทวีศักดิ์    นามสกุล จันทร์ประดิษฐ
ที่อยู่ 18/7 หมู่ 2 ต.หาดส้มแป้น อ.เมือง จ.ระนอง 85000
เกิดวันพุธที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2532 อายุ 27 ปี 
สัญชาติไทย ศาสนาพุทธ น้ำหนัก 50 ส่วนสูง 170 เซนติเมตร
สถานภาพ โสด เบอร์โทรศัพท์ ๐๘๘-๖๘๙๘๔๐๘ 
อีเมล์ boylovepopin@hotmail.com
เฟสบุ๊ค: facebook.com/boylovepopin
บล็อกเกอร์: http://beboymanyou.blogspot.com/


ประวัติการศึกษา:
พ.ค. 2556เม.ย. 2558        มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร)      –  พุทธศาสตรมหาบัณฑิต เกียรตินิยม (ภาษาอังกฤษ - หลักสูตรนานาชาติ)เกรดเฉลี่ย 3.62
พ.ค. 2551 มี.ค. 2556          มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) พุทธศาสตรบัณฑิต (ภาษาอังกฤษ)เกรดเฉลี่ย 3.18
                                             ปี 2551 – 2555 เป็นการศึกษาในภาคเรียนปกติ 163 หน่วยกิต
                                              ปี 2555– 2557 เป็นการปฏิบัติศาสนกิจตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยเพื่อสนองปณิธานของรัชกาลที่ 5

วิทยานิพนธ์/งานวิจัย/งานเขียน

1. Master Thesis
·       Chanpardit, T. (2015). “A Study of English News Headlines to Improve Reading Skills of Foreign Monks at WatNakprok”. M.A. Thesis, the Faculty of Humanities, Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

2. Research Project
·       พระราชวรเมธี และคณะ. (2558). โครงการวิจัยเรื่องการพัฒนาหลักสูตรพุทธอาเซียนของมหาวิทยาลัยสงฆ์ผ่านการบูรณาการความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของไทยและกลุ่มประเทศ CLMVภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและได้รับรางวัลผลงานวิจัยระดับดีเด่น (www.buddhistasean.com)

3. Editor for
1. Parents’ Participatory Administration of MuangPakphoon Child Development Center, Muang District, Nakhon Si Thammarat
2. Parents’ Participation in Educational Management of Child Development Center in the Area of MuangPakphoon Municipality, Muang District, Nakhon Si Thammarat Province
3. Personnel Administration Effectiveness of the Work Performance of Teachers at Partner School 1 under Control of Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area Office 1, Muang District, Nakhon Si Thammarat
4. Educational Administration based on Good Governance: A Case Study of the Third Network Educational Center under Control of Primary Educational Service Area 2, Nakhon Si Thammarat
5. The Role of Teachers in Fostering Student Ethics in Princess Chulabhorn’s College Nakhon Si Thammarat, Nakhon Si Thammarat

4. Journals published on Blog and Facebook
Facebook: facebook.com/boylovepopin
·       Western Eating Culture: Eating In and Eating Out
·       Learning English through News Headlines of The Nation and Bangkok Post Newspapers
·       Life under the Shade of Buddha’s Teachings
·       A Summary of BuddhasadaBhikkhu’sBreathing Meditation Method
·       The Charms of Wall Paintings in Nakhon Si Thammarat
·       Are New Technologies Killing Thai Children’s Future? What Can Help Them?


รางวัลและทุนที่เคยได้รับ
·       ทุนเรียนดีระดับปริญญาตรี ระหว่างปี พ.ศ. 2551-2552จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต. ลำไทร วังน้อย พระนครศรีอยุธยา
·       ทุนการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ปี พ.ศ. 2551-2556 จากมูลนิธิเกหลง การะเกษ วัดสระเรียง นครศรีธรรมราช
·       ทุนวิจัย(Research Fellowship for Undergraduate Student)จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยโครงการวิจัยเรื่องการพัฒนาหลักสูตรพุทธอาเซียนของมหาวิทยาลัยสงฆ์ผ่านการบูรณาการความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของไทยและกลุ่มประเทศ CLMV
·       ทุนเรียนดีระดับปริญญาตรี-โทจากวัดนาคปรก

ประวัติการดูงานและการฝึกอบรม
·         ฝึกวางแผนชีวิต (Workshop) กรุงเทพมหานคร ของสถาบันแลนด์มาร์ค เวิลด์ไวด์(Landmark Worldwide) ปี พ.ศ. 2558
·   การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อสัมภาษณ์วิจัยภาคสนามที่อาคารสำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วังน้อย อยุธยา ปี พ.ศ. 2557
·    การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อตั้งคำถามวิจัยที่อาคารสำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วังน้อย อยุธยา ปี พ.ศ. 2557
 การฝึกทักษะการจดบันทึกวิจัยภาคสนามที่อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วังน้อย อยุธยา ปี พ.ศ. 2557
·      ฝึกวิธีทบทวนวรรณกรรมวิจัยที่คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วังน้อย อยุธยา ปี พ.ศ. 2557
·    ศึกษาเรียนรู้ศาสนาเปรียบเทียบเชิงโดยใช้ภาษาอังกฤษ ณ พิพิธภัณฑ์สยามกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2555
·  ศึกษาเรียนรู้ภาษาอังกฤษสำหรับแนะนำโบราณสถานและโบราณวัตถุในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปี พ.ศ. 2553

ประวัติการทำงาน:
อาจารย์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (นครศรีธรรมราช) ปี พ.ศ. 2557 – ปัจจุบัน
·       สอนระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1-4คณะศาสนาและปรัชญา และคณะสังคมศาสตร์ จำนวนทั้งหมด 45 รูป/คน ในรายวิชา ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (ห้องรวม) นักศึกษานั้นมี 2 กลุ่ม คือ บรรพชิต กับฆราวาส 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในหัวข้อการสนทนาเหตุการณ์ต่างๆในชีวิตประจำวัน
·       สอนระดับปริญญาโท บัณฑิตวิทยาลัย รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์การปกครองปีที่ 1 (ภาคพิเศษ) ในรายวิชา การฟังและการพูดภาษาอังกฤษพื้นฐาน 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยมีพระนักศึกษาและนักศึกษาที่เป็นฆราวาสรวมทั้งหมด 26 รูป/คน พระนักศึกษาเป็นเจ้าอาวาส และนักเทศน์ ส่วนนักศึกษาฆราวาสนั้นเป็น เจ้าหน้าที่ ข้าราชการครู ทหาร และตำรวจหัวข้อในการสอนคือ การพูดสนทนาในชีวิตประจำวัน และการกล่าวปาฐกถาในงานต่างๆ

อาจารย์ช่วยสอน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วังน้อย อยุธยา ปี พ.ศ. 2557
·       สอนพระนิสิตปริญญาตรี (หลักสูตรนานาชาติ) คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวังน้อย อยุธยาในรายวิชา ภาษาและการสื่อสารทุกวันจันทร์ รวมเวลา 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยมีพระนิสิตต่างชาติรวมทั้งหมด 42 รูป/คน  ซึ่งมาจากประเทศเมียนมา กัมพูชา ลาว เนปาล และบังคลาเทศ

อาจารย์วิปัสสนา (นานาชาติ) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2556
·       สอนวิปัสสนาพระนิสิตปริญญาตรี (หลักสูตรนานาชาติ) คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรมแคมป์สน เขาค้อ จ. เพชรบูรณ์ ในระยะเวลาปฏิบัติธรรม 10 วัน โดยมีพระนักศึกษาและนักศึกษาที่เป็นฆราวาสรวมทั้งหมด 47  รูป/คน จากประเทศเมียนมา กัมพูชา ลาว เนปาล เวียดนาม และบังคลาเทศ



ผู้ช่วยวิจัยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2558
·       โครงการวิจัยเรื่องการพัฒนาหลักสูตรพุทธอาเซียนของมหาวิทยาลัยสงฆ์ผ่านการบูรณาการความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของไทยและกลุ่มประเทศ CLMV ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ผลงานทางวิชาการด้านการสอนและการทำวิจัย:
1. Master Thesis
·       Chanpardit, T. (2015). “A Study of English News Headlines to Improve Reading Skills of Foreign Monks at WatNakprok”. M.A. Thesis, the Faculty of Humanities, Mahachulalongkornrajavidyalaya University. 

2. Research Project
·       พระราชวรเมธี และคณะ. (2558). โครงการวิจัยเรื่องการพัฒนาหลักสูตรพุทธอาเซียนของมหาวิทยาลัยสงฆ์ผ่านการบูรณาการความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของไทยและกลุ่มประเทศ CLMV ภายใต้สำนักงานสนับสนุนกองทุนการวิจัย(สกว.) และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

3. Working papers
·       Methods of Effective English Teaching
·       Ranong Tourism Promotion
·       How to Be a Good Person
·       Buddhist Precepts
·       News Headlines Analysis
·       Meditation Retreat at Campson
·       How to Stop Smokers from Smoking
·       Word Formation
·       Translation and Interpretation
·       Dhamma in English

4. Project papers
·       Problems of English Learningof Primary Students in Chaing Mai
·       Dhamma Training Camp
·       Meditation Methods in Thailand

กิจกรรมทางวิชาการ
·       ผู้ร่วมจัดงานโต้วาทีภาษาอังกฤษ (เสริมหลักสูตร) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ.วังน้อย จ.อยุธยา ปีพ.ศ. 2555
·       อาสาสมัครตอนรับในวันประชุมวิสาขบูชาโลก จัดโดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ.วังน้อย จ.อยุธยา ปี พ.ศ. 2553
·       ผู้ฝึกปฏิบัติธรรมประจำปีภาคการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ.วังน้อย จ.อยุธยา ปี พ.ศ. 2556
·       ผู้สอนภาษาอังกฤษพื้นฐานให้กับนักเรียนโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดนาคปรก ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ปี พ.ศ 2553 - 2558
·       ผู้เข้าร่วมสืบสานวัฒนธรรมใต้ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วังน้อย อยุธยา ปี พ.ศ. 2555
·       ผู้ร่วมกิจกรรมแข่งขันตอบปัญหาธรรมะภาคภาษาอังกฤษมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วังน้อย อยุธยา ปี พ.ศ. 2554
·       แข่งขันเขียนบทความวิชาการในหัวข้อเรื่องธรรมะนำสังคมโลกลงวารสารของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วังน้อย อยุธยา ปี พ.ศ. 2553
กิจกรรมอื่นๆ
·       ผู้นำสวดมนต์ไหว้พระ 9 วัด
·       ผู้นำนักเรียนจากโรงเรียนสถาพรศึกษามาแห่เทียนพรรษากรุงเทพมหานคร
·       ผู้ร่วมสวดมนต์ข้ามปีกรุงเทพมหานคร
·       ผู้ฝึกสวดพระไตรปิฎก วัดใหม่ยายแป้น กรุงเทพมหานคร
·       ผู้ร่วมทำความสะอาดมหาลัย
·       ผู้ร่วมปลุกปลูกต้นไม้
·       ผู้อบรมค่ายนักเรียน
·       ผู้สอนธรรมในโรงเรียน


บุคคลรับรอง/อ้างอิง
1. ดร.มนตรา เลี่ยวเส็ง ตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิของโครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม (พวอ.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และกรรมการบริหารของมหาวิทยาลัยต่างๆ/นักวิจัย/นักเขียน/อาจารย์ (รับรองประสบการณ์การทำงานวิจัยนานาชาติ)เบอร์โทร: 089 4880441อีเมล: montramale@yahoo.com

2.  ผศ.ดร.วีระกาญจน์ กนกกมเลศ ตำแหน่ง อาจารย์ประจำ ภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (ส่วนกลาง) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (รับรองประวัติการศึกษา)เบอร์โทร: 089 1465842 อีเมล:Veera_Karn@hotmail.com

3. รศ.ดร.กันตภณ หนูทองแก้ว ตำแหน่งผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จังหวัดนครศรีธรรมราช (รับรองประสบการณ์การทำงาน)เบอร์โทร: 088 7816812 อีเมล: kantaphon_27@hotmail.com

*ต้องปริ้นบทคัดย่อวิทยานิพนธ์ ผลงานวิจัย ผลงานเขียน บทความเชิงวิชาการ ไปด้วยอย่างน้อย 6-10 เรื่อง เลือกเอาที่มันสำคัญๆที่สุดในแต่ละหมวด เพื่อจะได้เป็นหลักฐานว่าเราทำจริง





ดอกซากุระ ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  จังหวัดนครปฐม (ภาพจาก Google)



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความแตกต่างระหว่าง maid และ housekeeper แบบย่อ

จับจุดอ่อนของ Informality (ความไม่เป็นทางการในการใช้ภาษาพื้นฐาน)

10 คำคม